ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่ควรมีติดบ้านไว้

ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่ควรมีติดบ้านไว้

ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่ควรมีติดบ้านไว้ ยา ประจำบ้านสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ควรมีติดบ้าน เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น


เป็นที่รู้กันว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ได้หมายถึงแค่คนเพียงเท่านั้น แต่ยัง รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงด้วย เพราะเมื่อเวลาเจ้าตัวเล็กของเราเป็นอะไรขึ้นมาล่ะก็ จะนำพาเอาความทุกข์ใจมาให้เจ้าของอย่างมากมายเลยทีเดียว ดังนั้น เราควรมียา หรืออุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยงติดบ้านไว้ วันนี้ Homepet มีข้อมูลดี ๆ มาฝากผู้อ่านทุกท่าน คุณอาจจะต้องร้อง ว้าวววว! กันเลยก็ได้ เพราะบางอย่างก็ไม่น่าเชื่อว่าจะช่วยปฐมพยาบาลเหล่าสัตว์เลี้ยงได้จริง ๆ

ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่ควรมีติดบ้านไว้

ยาและอุปกรณ์สามัญประจำบ้าน

เกลือป่น (เกลือแกง) ใช้ป้อนที่โคนลิ้นเพื่อกระตุ้นให้อาเจียน ในกรณีที่หมาได้รับสารพิษ หรือกินสัตว์พิษเข้าไป

เกลือแร่ผงชนิดละลายน้ำ (ORS) ใช้ปฐมพยาบาลในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของเราท้องเสีย

ปรอทวัดไข้เด็ก สามารถวัดอุณหภูมิสัตว์เลี้ยงเมื่อมีไข้ได้เช่นกัน

น้ำเกลือล้างแผล (Normal Saline Solution) หรือน้ำเกลือสำหรับล้างคอนแทคเลนส์ ใช้ล้างแผลให้สะอาดโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่อรอบข้างถูกทำลาย

แอลกอฮอล์ ใช้สำหรับเช็ดรอบแผลเท่านั้น

ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือ เบตาดีน ชนิดน้ำหรือครีมก็ได้ ใช้สำหรับใส่แผลเพื่อฆ่าเชื้อค่ะ (**ไม่แนะนำให้ใช้ยาป้ายลิ้นเด็ก หรือยาม่วงมาใส่แผลนะคะ**)

อุปกรณ์ล้างแผลต่าง เช่น ผ้ากอซ สำลี เทปปิดแผล ผ้าพันแผล กรรไกรเล็มขนบริเวณแผล

น้ำยาเช็ดหู ใช้ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย บริเวณใบหูและช่องหู

ยาลดไข้สำหรับสัตว์ (สอบถามคุณหมอโดยตรงเพราะต้องใช้ตามน้ำหนักค่ะ) หากอุณหภูมิสูงมากกว่า 104 F ผู้เลี้ยงสามารถใช้ผ้าธรรมดาชุบน้ำเช็ดตัวได้ค่ะ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิให้สัตว์เลี้ยง

ยาม่วงป้ายปากเด็ก สามารถใช้กับน้องแมวน้องหมาได้เหมือนกันในกรณีที่มีอาการเหงือกอักเสบ

ผงถ่านดูดซับสารพิษ (Ultracarbon) ใช้กรณีสัตว์เลี้ยงท้องเสียเล็กน้อย อาหารเป็นพิษ หรือได้รับสารพิษ โดยบดละเอียด และผสมน้ำป้อนค่ะ

ปลอกคอกันเลีย หรือคอลลาร์ ป้องกันเวลาทายา หรือป้องกันการแทะแผล เลียแผล กัดตัวเองจากอาการคันนั่นเอง

ยากันยุง โดยเฉพาะประเทศไทยที่มียุงชุกชุม สามารถใช้ ก.ย. ทาบริเวณผิวอ่อนน้องหมา หรือข้าง ๆ หูได้ ยุงจะไม่มารบกวนเจ้าตัวเล็กของเราอีกต่อไป

ยากำจัดเห็บหมัด สามารถซื้อตามโรงพยาบาลสัตว์ ซึ่งจำเป็นต้องฉีดทุกเดือนเพื่อประสิทธิภาพของยาอย่างไรก็ดี ยาและอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเพียงการบรรเทาอาการเบื้องต้นเท่านั้น หากน้องหมาน้องแมวอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้รีบพาเจ้าตัวเล็กไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุจะดีกว่าค่ะ ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายจนสายเกินแก้ได้

อ่านเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติม